วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2562

2.7 การนำธาตุไปใช้ประโยชน์และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

2.7.1 ประโยชน์ของธาตุ

อะลูมิเนียม
ใช้ทำแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์ เพื่อใช้ห่ออาหารเมื่อนำไปเผาหรือให้ความร้อนใช้ทำส่วนประกอบของแครื่องบินและ
สายไฟฟ้าแรงสูง 
สังกะสี
ใช้ทำถ่นไฟฉาย และเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ช่วยย่อยโปรตีน
 เหล็ก
 เป็นธาตุที่มีมากเป็นที 4 ในโลก ใช้ทำเป็นโครงสร้างในการก่อสร้างสิ่งต่างๆ
 เงิน
เป็นตัวนำไฟฟ้าและความร้อนที่ดีที่สุด ทนทานต่อการกัดกร่อนของกรดอินทรีย์และโซดาไฟ ใช้ทำเครื่องประดับ
 ทองแดง
ใช้ทำสายไฟ เป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดีมาก ลองมาจากเงิน
 เยอร์เมเนียม
เป็นธาตุกึ่งตัวนำที่หายากมาก ใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องทรานซิสเตอร์และใช้ในเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
 ทังสเตน
ปัจจุบันใช้ทำไส้หลอดไฟฟ้า ใช้ผสมกับเหล็กใช้ทำ Tungsten carbide ซึ่งจัดว่าเป็นสารที่แข็งมาก ใช้ประกอบเครื่องมือตัดโลหะด้วยความเร็วสูง
ทองคำ
เป็นธาตุที่หายากมาก มีในโลกประมาณ 1% ของเงิน ความบริสุทธิ์ของทองคำใช้วัดเป็นกะรัต ทองคำที่บริสุทธิ์จริงคือ ทองคำ 24 กะรัต ใช้ทำเครื่องประดับ
 ไฮโดรเจน
เป็นธาตุอโลหะที่มีไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และสามารถติดไฟได้ ไฮโดรเจนจะมีน้ำหนักเบากว่าอากาศมาก จึงนิยมนำมาใส่ในลูกโป่ง และเป็นสารเชื้อเพลิง
 ไนโตรเจน
ไนโตรเจนเป็นธาตุที่ไม่มีสีและกลิ่น เรานิยมใช้ไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบของปุ๋ย เพราะว่าไนโตรเจนช่วยกระตุ้นและทำให้พืชเจริญงอกงามดี
 คาร์บอน
เป็นอโลหะที่เป็นองค์ประกอบของถ่าน ใส้ดินสอ เพชร และปิโตรเลียม ซึ่งนิยมนำมาใช้ประโยชน์ในการผลิตเชื้อเพลิงที่ให้พลังงานแสงสว่างและความร้อน
ออกซิเจน
มีคุณสมบัติไม่มีสี ไม่มีกลิ่นและไม่ติดไฟ แตออกซิเจนช่วยทำให้ไฟติด ออกซิเจนมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เมื่อเราหายใจเข้าไปจะเคลื่อนตัวไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายโดยเกาะไปกับเลือดช่วยในการ 
เผาผลาญอาหาร
 ฟลูออรีน
เป็นธาตุที่มีกลิ่นฉุน นิยมนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของยาสีฟันเพราะฟลูออไรด์ป้องกัน
ไม่ให้ฟันผุ
 โบรอน
สารโบรอนที่รู้จักกันอย่างมาก ได้แก่ สารบอแร็ก ที่นิยมนำมาเป็นส่วนผสม
ของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผลิตภัณฑ์ และสารป้องกันจุลินทรีย์
 ซิลิคอน
เป็นสารกึ่งตัวนำ ใช้ทำวงจรไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

2.7.2ผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

 1. Initial stage (Prodomal phase) ผู้บาดเจ็บจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นหลังจากได้รับรังสี 2-3 ชั่วโมง และกินเวลานาน 2-3 วัน หากได้รับรังสีปริมาณไม่มากนัก

  2. Latent stage เป็นระยะที่อาการต่าง ๆ ข้างต้นหายไป ผู้บาดเจ็บจะรู้สึกสบายดีเป็นเวลาหลายวัน และอาจนาน 2-3 สัปดาห์

  3. Third stage (Symptomatic phase) เริ่มตั้งแต่สัปดาห์ที่ 3 ถึงสัปดาห์ที่ 5 หรืออาจเร็วกว่านี้หากได้รับรังสีปริมาณมาก ผู้ป่วยจะมีอาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร เกิดภาวะเลือดออกง่าย โลหิตจาง ติดเชื้อ และผมร่วง

   4. Fourth stage เป็นระยะที่ผู้ป่วยเริ่มฟื้นคืนสู่สภาพปกติหากได้รับรังสีไม่มากนัก หรือเสียชีวิตในกรณีที่ได้รับรังสีในปริมาณมาก

          ทั้งนี้ ผู้ป่วยแต่ละคนจะเกิดทั้ง 4 ขั้นแบบนี้ แต่สำหรับขั้นที่สามจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นกับ 3 ระบบของร่างกาย คือ ไขกระดูก , ทางเดินอาหาร , ทางเดินโลหิต ซึ่งจะเกิดกับระบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับว่า ได้รับปริมาณรังสีกี่เกรย์ 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น